ตาดูดาวเท้าติดดิน ตอนที่ 3 วัยเยาว์
ระหว่างที่พ่อเป็นหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อนั่นเอง เชียงใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องจากการใช้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 พ.ศ. 2504-2509 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเน้นการสร้างถนนหนทาง สาธารณูปโภคต่างๆ พัฒนาเกษตรให้เป็นสมัยใหม่ และส่งเสริมอุตสาหกรรม เชียงใหม่ถูกเลือกให้เป็นเมืองหลักของการกระจายความเจริญทางภาคเหนือ โดยเฉพาะเมื่อรัฐเห็นว่าภาคเหนือเป็นจุดยุทธ์ศาสตร์การแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ถนนเส้นใหญ่ถูกตัดทอดระหว่างเชียงใหม่กับจังหวัดใกล้เคียง เกิดระบบทางหลวงเชื่อมต่อจังหวัดศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแต่ละภาคเข้าด้วยกันรวมทั้งเชียงใหม่ด้วย มีโครงการสร้างเขื่อนภูมิพลที่จังหวัดตากเพื่อแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าและจัดสรรชลประทานทั่วภูมิภาคนี้ผลก็คือ วิถีชีวิตของชาวบ้านเริ่มเปลี่ยนแปลง จากการเดินทางขนส่งทางแม่น้ำ-รถไฟมาเป็นการคมนาคมทางถนนแทน ขึ้นล่องด้วยรถบรรทุก รถยนต์กลายเป็นของจำเป็น เครื่งใช้ไฟฟ้า เครื่องกลอุตสาหกรรมทะลักเข้ามาสู่ชุมชน ชาวบ้าน และเกษตรกร ดึงดูดนักลงทุนทั้งต่างชาติและในประเทศ ส่งสินค้า ส่งตัวแทนจากบริษัทแม่ หรือแแสวงหาตัวแทนจำหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อสร้างตลาดของตัว อำเภอเมืองเชียงใหม่จึงคึกคักไปด้วยผู้คนจากสารพัดทิศ ธุรกิจใหม่ๆหลากหลายผุดขึ้นพ่อเองก็เบนเข็มธุรกิจมาสอดรับกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนโฉมนี้พ่อเริ่มด้วยธุรกิจบันเทิง เพราะบังเอิญมีลูกค้าสินเชื่อคนหนึ่งมาชวนให้ร่วมหุ้นสร้างโรงหนังชื่อ ศรีวิศาล พ่อไม่เคยทำกิจกรรมประเภทนี้เลย แต่ก็ลองตามนิสัย และทำในสไตล์ของพ่อ คือไม่ซ้ำแบบใครพ่อปฏิวัติรสนิยมการดูหนังของคนเชียงใหม่ จากเดิมเขาฮิตหนังแขกกับหนังจีน พ่อก็แหวกแนวเอาหนังฝรั่งกับหนังไทยมาฉายสวนกระแส หนังเรื่องแรกที่ลงโรงศรีวิศาลชื่อ ป้อมปืนนาวาโรน มีแอนโทนี่ ควินน์ เล่นเป็นพระเอก ผมเองไปลุ้นรอบปฐมทัศน์กับพ่อด้วย ยังจำได้ว่าคนล้นหลามแน่นเป็นประวัติการณ์ส่วนหนังไทยนั้นพ่อติดต่อขอหนังจากวัชรภาพยนต์ของคุณกำพล วัชรพล คุณวิมลยิ้มละไมมาฉาย คุณกำพลกับคุณวิมลไปเชียงใหม่บ่อยและคุ้นเคยกับพ่อดี ผมจึงได้พบผู้ใหญ่ทั้งสองท่านนี้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กความรุ่งเรืองของโรงภาพยนต์ศรีวิศาลทำให้ฐานะการเงินของพ่อมั่นคง และเสริมความมั่นใจให้พ่อในเวลาเดียวกัน พ่อเลยขยายฐานไปทำธุรกิจอื่นๆอีกมากมายซื้อกิจการเดินรถหรือ รถเมล์เหลือง ในจังหวัดเชียงใหม่ ซื้อกิจการบริษัทเจริญชัยเอเย่นต์จำหน่ายรถสามล้อเครื่องไดฮัทสุ มอเตอร์ไซด์ฮอนด้า จักรเย็บผ้า เป็นเอเย่นต์ขายรถ บีเอ็มดับบิว ทำปั้มน้ำมัน และสร้างโรงหนังแห่งที่สองชื่อ ชินทัศนีย์ช่วงนี้เองที่ครอบครัวของเราย้ายเข้ามาอยู่ในอำเภอเมือง และมีความเป็นอยู่สุขสบายขึ้นจาก เงินหมุน ของพ่อ- คุณทักษิณครับ ผมว่ากลับมาเชียงใหม่เถิดครับ - วันหนึ่งนายเทพลูกน้องเก่าแก่ผู้ซื่อสัตย์ของพ่อก็มาหาผม ตอนนั้นผมย้ายมาเรียนที่กรุงเทพฯแล้ว และพักอยู่กับป้าเข็มทอง โอสถาพันธุ์ พี่สาวคนโตของพ่อ ตรงซอยประสานมิตร สุขุมวิท นายเทพรีบมารายงานข่าวว่ากิจการของพ่อท่าทางจะไม่ค่อยดี- ผมสงสัยว่านายจะโดนโกงน่ะครับ นี่ก็ใจดียกรถเมล์ให้เขาดูแลอีกแล้ว คุณทักษิณลาออกกลับไปช่วยนายเถอะครับ นายไม่มีใคร ไม่อย่างนั้นหมดตัวแน่ -
ตาดูดาวเท้าติดดิน ตอนที่ 4 มรดกจากพ่อ
ผมคงช่วยอะไรไม่ได้นักหรอกเทพ เทพก็รู้ว่าพ่อเป็นคนดื้อ ไม่ค่อยฟังใครง่ายๆ ผมขอเรียนให้จบก่อนดีกว่า จบแล้วค่อยมาสร้างกันใหม่ ไอ้ที่หมดแล้วก็ให้มันหมดไป - ผมยืนยัน นายเทพรบเร้าอยู่ 3 - 4 รอบ จนอ่อนใจ คอตกกลับไปด้วยความผิดหวังอันที่จริงผมพอจะทราบอยู่เลาๆจากแม่บ้างแล้วว่าธุรกิจของพ่อมีปัญหา พ่อถูกหุ้นส่วนโกง ตั้งแต่โรงหนัง รถเมล์ ร้านตัวแทนจำหน่าย ฯลฯ ทีละอย่างสองอย่าง กระทั่งที่ดินที่ซื้อไว้ก็เกือบจะถูกแบงค์ยึดแม่เขียนจดหมายมาเล่าเชิงปรึกษา ผมก็ให้คำตอบแม่เหมือนที่พูดกับนายเทพ ซึ่งยอมรับว่าผมเสียดายและรู้สึกเจ็บปวดพอสมควร แต่ก็เชื่อแน่ว่า ลำพังเด็กหนุ่มอายุ 18 คงช่วยกอบกู้อะไรไม่ได้มากนัก แม่เองก็เห็นด้วย แล้วปลอบผมว่า อย่าคิดมาก ตั้งใจเรียนให้ดีการทำธุรกิจในแบบของพ่อมีช่องโหว่มากเกินไป พ่อวิ่งไปข้างหน้า แต่ลืมระวังข้างหลัง ไม่ทันคิดสร้างทายาทขึ้นมารับช่วงต่อ ไม่มีคนคอยดูแลรายละเอียดในสิ่งที่พ่อบุกไว้ และวิ่งเร็วเกินไปจนไม่มีใครฉุดอยู่ เหมือนรถไฟที่เครื่องมันแรงเกิน พอไปถึงทางโค้งรั้งไม่ไหว มันก็ตกรางเอาแม่เองก็เอาพ่อไม่อยู่ แม่เป็นแม่บ้านมากกว่านักธุรกิจ ลำพังเลี้ยงลูก 9 คนก็เหนื่อยโขอยู่แล้ว ตอนนั้นพี่เยาวลักษณ์เรียนอยู่ที่ออสเตรเลีย น้องผมอีก 7 คน คือ เยาวเรศ ปิยนุช อุดร เยาวภา พายัพ มณฑาทิพย์ ทัศนีย์ กับยิ่งลักษณ์ ล้วนยังเล็กในที่สุด ไม่ถึง 10 ปี กิจการของพ่อก็ค่อยๆลดลง จนเหลือแค่โรงหนังศรีวิศาลและที่ดินนิดหน่อยกับกำลังใจที่ไม่เคยถดถอย พ่อยังคงทำงานที่ธนาคารต่อ และลงเลือกตั้ง สส. คว้าตำแหน่งผู้แทนฯเยงใหม่ในปี 2512 อุทิศตัวรับใช้ชาติ และชาวเชียงใหม่อยู่หลายปี ก่อนไปช่วยน้องเยาวเรศบุกเบิกก่อสร้างร้านผ้าไหมชินวัตรที่พัทยากับภูเก็ตกระทั่งวัยล่วงเลยมากว่า 70 ผมเห็นว่าพ่อเหยื่อยมากแล้วควรพักบ้าง จึงชวนพ่อมาอยู่สวนนนทบุรีซึ่งผมจัดไว้ให้ พ่อดูมีความสุขมาก เพราะได้ใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ ทำสวน ปลูกดอกไม้ตามความชอบของพ่อ และสิ้นลมอย่างสงบเมื่อ พ.ศ. 2540จากไปโดยไม่ได้ทิ้งทรัพย์สินเงินทองไว้ให้ ไม่มีกิจการใหญ่โตให้ลูกหลานสืบช่วงต่อ เหลือไว้แต่มรดกทางความคิดและจิตวิญญาณ ซึ่งดูเหมือนผมจะได้รับมากกว่าใคร
มรดกที่พ่อทิ้งไว้ให้ผม อันที่จริงพ่อให้ผมมาตลอดเวลาที่ผมอยู่ข้างกายพ่อ แน่นอน ไม่ใช่ด้วยคำพูด แต่พ่อได้ปลูกฝังคุณสมบัติหลายอย่างที่ผมใช้เท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมดสิ่งแรกที่ล้ำค่ามากที่สุดคือการสู้ชีวิต ซึ่งพ่อผมสอนผมด้วยการให้ลงมือทำผมต้องช่วยงานพ่อแม่ตั้งแต่ยังจำความได้ สมัยอยู่ร้านกาแฟ เช้าขึ้น ลูกจ้างเฉพาะกิจที่แม่จ้างมาลากรถบรรทุกผ้าซึ่งทำจากไม้ทั้งคันแบบเกวียนจะอุ้มผมที่อาบน้ำแต่งตัวเสร็จเรียบร้อยไปวางจุ้มปุ๊กอยู่บนคานด้านหน้าเข็นทั้งรถทั้งผมไปตลาด ไปถึงเขาจะช่วยจัดผ้ต้างๆให้เรียบร้อย ผมจะมีหน้าที่เฝ้าแผง ขายผ้าให้แม่ไปพลางๆรอจนกว่าแม่จะช่วยพ่อติดเตาเปิดร้านเสร็จแล้วมาขายผ้าตกเย็นหรือยามว่าง ผมช่วยพ่อโม่กาแฟ หยิบของจิปาถะเรื่อยๆไปและขายโอเลี้ยง ผมยังจำได้ว่า ต้องเขย่งปลายเท้าเต็มที่ถึงจะหมุนเจ้าเครื่องโม่ได้ แล้วพอตู้เย็นมา ผมพลอยมีอาชีพเสริม คือเอาหวานเย็นอันละสลึงที่แม่ทำ ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆไปเดินขายแถวบ้านตอนพ่อทำสวนส้ม ผมมักคอยวิ่งปุเลงๆ ช่วยแม่ตัดส้มแพ็คลงเข่งจนชำนาญ กระทั่งรู้ว่าเข่งหนึ่งหนักประมาณ 27 กก. แม่สามารถตัดส้มวันละ 5-6 เข่ง ขึ้นกระบะไปขายในเมือง นอกจากนั้นผมยังรับหน้าที่ขายกล้วยไม้จากสวนของเราด้วย พอขายหมดผมก็เอาเงินนั้นซื้อของสดกลับมาให้แม่ทำกับข้าวย่างเข้าวัยรุ่น อายุราว 14-15 ประสบการณ์ทำงานของผมก็ซับซ้อน และมีความรับผิดชอบสูงขึ้นตามขนาดและความหลากหลายของกิจการพ่อหลังเลิกเรียนอาบน้ำอาบท่านเสร็จ ผมมีหน้าที่เช็กยอดตั๋วหนังที่โรงภาพยนต์ศรีวิศาลเป็นประจำว่าขายได้เท่าไหร่ บางวันต้องไปช่วยขายอะไหล่มอเตอร์ไซค์และจักรเย็บผ้า ตามไปเก็บเงินผ่อนตามบ้าน ซึ่งแต่ละแห่งห่างกัน บ้างก็อยู่ลึกมาก ต้องจอดมอเตอร์ไซค์และเหยียบคันนาไปก็มีเมื่อพ่อเทคโอเวอร์รถเมล์ ผมจะช่วยบับสตางค์เวลากระเป๋าลงเวรตอนสี่ทุ่ม ทั้งหมด 50 กว่าคัน ผมจะจ่ายตั๋วแล้วปล่อยคิวตั๋ววันรุ่งขึ้น ขับรถเมล์รับคนผมก็ลองทำมาแล้ว และเวลารถเข้าอู่ ผมชอบตามไปด้วย ทำให้ได้รู้เรื่องเครื่องยนต์ต่างๆ เป็นความรู้ติดตัว ซึ่งช่วยให้ผมประหยัดเงินได้มากทีเดียวตอนที่ผมเรียนหนังสือที่อเมริกา เพราะค่าซ่อมรถแพงมาก จึงต้องซ่อมเองถ้าไม่เสียมากผมได้รับมอบหมายภารกิจเหล่านี้ กระทั่งอายุ 17 จึงหยุดเนื่องจากผมต้องไปเรียนที่กรุงเทพฯ
มรดกของพ่อยังงอกเงยโดยตัวมันเอง เพราะประสบการณ์อันหลากหลายที่ผมได้ผ่าน ปลุกความใฝ่รู้ในตัวผมให้ตื่นขึ้น จากแค่ติดสอยห้อยตามด้วยอารมณ์สนุกประสาวัยเยาว์ ผมกลายเป็นเด็กช่างซักถาม ขนากน้าซึ่งเป็นคนจีนแคะยังเคยล้อว่า - ไท้เพ้าล่อ - หรือ - ช่างพูดช่างคุย - เจ้านิสัยไท่เพ้าล่อนี้ติดตัวมาจนโต และได้ปรับเปลี่ยนไปเป็นมนุษยสัมพันธ์ ชอบคบหาผู้คน และชื่นชมข้อมูลใหม่ๆ โดยเฉพาะด้านเครื่องกลเทคโนโลยี่ ผมจะนิยมเป็นพิเศษภาระเกินวัยที่ได้รับความไว้วางใจให้ทำ ก็สร้างความเชื่อมั่น ความรับผิดชอบ เป็นผู้ใหญ่ขึ้น เป็นบุคลิกภาพสำคัญแต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมสรุปได้อย่างมั่นใจว่า มรดกจากพ่อที่ปรากฎในตัวผมชัดเจนที่สุดนั้นคือแพทเทิร์นการทำธุรกิจ หรือสไตล์กล้าเสี่ยงกล้าลอง ชอบของใหม่ทันสมัย และการทำงานด้วย - จินตนาการ - เพียงแต่ผมโชคดีกว่าที่มีโอกาสเรียนสูง และมีกองหลังหรือภรรยาช่วยเก็บรายละเอียดให้ได้เท่านั้นเองแพทเทิร์นนี้นอกจากเป็นที่มาแห่งความสำเร็จด้านธุรกิจของผมแล้ว ยังเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจหลายๆอย่างทางการเมือง เป็นจุดเริ่มต้นของศรัทธาต่อปรัชญา - คิดใหม่ - ที่ต้งอาศัยความกล้าและจินตนาการเป็นรากหลักโดยมีองค์ประกอบอื่นเป็นส่วนผสมซึ่งมาจากอดีตอีกหลายด้านของผม